top of page

มาทำความรู้จักโรคซึมเศร้ากัน!!

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เพื่อนๆ หลายๆคนคงพอเห็นข่าวเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผ่านตามาบ้างซินะคะ

หอมไทเลยอยากเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงช่วยให้ทุกคนได้เข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามากยิ่งขึ้นนะคะเช่นนั้น ก่อนอื่นเลย เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคซึมเศร้านั้นเป็นอย่างไร เเละอาการเบื้อต้นของโรคซึมเศร้านั้นเป็นเช่นไร

ทำความรู้จักโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและความคิด โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะคอยสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันอย่างมาก เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต ในหัวสมองมักมีแต่ความวิตกกังวล ที่สำคัญผู้ป่วยไม่มีความสามารถในการประสานความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีพอ

โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเมื่อดูจากภายนอกแล้ว อาการที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป แต่ผลกระทบนั้นรุนแรงกว่ามาก ซึ่งทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็นด้วยซ้ำ ปัญหาส่วนใหญ่คนที่ป่วยเป็นซึมเศร้ามักจะไม่รู้ตัวเองว่าตนกำลังป่วยเป็นซึมเศร้า หรืออาจรู้ตัวอีกทีตอนที่โรคกำลังพัฒนาไปสู่ขั้นรุนแรงจนเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว ทำให้

โรคนี้กลายเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่พรากหลายต่อหลายชีวิตไปอย่างคาดไม่ถึง

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาและการทำจิตบำบัดและผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ ระยะเวลาในการรักษาอาจใช้เวลานานตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน เป็นต้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการให้ความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วยและญาติ

อาการของโรคซึมเศร้า

หากคุณกำลังกังวลว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกำลังเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าอยู่ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากเหล่านี้

- รู้สึกหมดหวัง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปหรือจะทำไปเพื่ออะไร

- ไม่มีความสุขกับสิ่งของหรือกิจกรรมที่ชอบ เช่น รู้สึกเบื่อหน่ายอาหารโปรดหรือการร่วมเพศ

- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมากอันเนื่องมาจากการรับประทานอาการที่ไม่เหมือนเดิม

- นอนไม่หลับมาเป็นระยะเวลานาน แต่ในผู้ป่วยบางรายก็นอนนานผิดปกติ

- มีอาการเครียด หงุดหงิดง่ายขึ้น ไม่รู้สึกผ่อนคลาย

- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้เลย แสดงอาการหลงๆลืมๆ และใช้เวลานานในการตัดสินใจ

- มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลง รวมถึงการพูด เพราะรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแรง

- รู้สึกอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย บางครั้งผู้ที่มีอาการนี้ก็ไม่รู้ตัวเอง

โดยผู้ป่วยมักแสดงอาการเหล่านี้ออกมาพร้อมๆกันภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ หากปล่อยไว้นานจะทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังซึ่งมีอาการรุนแรงกว่านี้มาก ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการบำบัดสภาพร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องก่อนที่จะก่อให้เกิดความสูญเสีย

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย จากสารเคมีที่อยู่ในสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) เมื่อสารเคมีดังกล่าวมีปริมาณน้อยลงจากเดิมก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางความคิด ซึ่งโดยรวมจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย เหงา ไม่มีชีวิตชีวา ไม่สนุกสนาน ระสับกระส่าย อยากอยู่คนเดียว นอนไม่หลับ มักสะดุ้งตื่นในกลางดึก ฝันร้ายบ่อย เหล่านี้ยังเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานที่

ลดลง

ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

- ภาวะเจ็บป่วยที่สามารถทำให้เกิดการเสียชีวิต (เช่น โรคมะเร็งหรืออาการปวดเรื้อรัง)

- ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม

- ชีวิตที่เครียด (เช่นปัญหาการหย่าร้างหรือขัดสนเงินทอง)

- พันธุกรรม (มีความผิดปกติของอารมณ์และการฆ่าตัวตายของคนในครอบครัว)

- ภาวะบาดเจ็บหรือการถูกล่วงละเมิดในวัยเด็กซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวจากการสั่งการของสมองเพื่อจัดการกับความกลัวและความเครียด

- โครงสร้างสมองและการใช้สารเสพติด

- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นฮอร์โมนจากภาวะตั้งครรภ์หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า(Depression) มากกว่าผู้ชายถึง 70 เปอร์เซ็นต์

คนที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า มากกว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 60

ชนิดของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปดังนี้

1. Major Depression (โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง)

โรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อภาวะซึมเศร้ารบกวนความสุขในชีวิต การทำงาน การเรียน การนอนหลับ นิสัยการกิน และอารมณ์สุนทรีย์ ติดต่อกันอย่างน้อยสองสัปดาห์ บางคนอาจพบแค่เพียงหนึ่งอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะเกิดเป็นครั้งๆ แล้วหายไป แต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดได้บ่อยครั้ง

2. Dysthymia หรือ Persistent Depressive Disorder (โรคซึมเศร้าเรื้อรัง)

เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่อยู่ในภาวะที่รุนแรง และสามารถเป็นแบบเรื้อรัง จะมีอาการแสดงของอารมณ์ไม่รุนแรงนัก แต่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสองปี ในบางช่วงเวลาของภาวะซึมเศร้าประเภทนี้อาจมีภาวะ major depression ร่วมด้วย ซึ่งจะรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งนี้มันสามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดการสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดีได้

3. Bipolar หรือ Manic-depressive Illness (โรคซึมเศร้าอารมณ์ตก)

ผู้มีภาวะซึมเศร้าบางคนอาจมีความผิดปกติแบบอารมณ์สองขั้วร่วมด้วย (bipolar disorder) เป็นโรคซึมเศร้าชนิดที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีอารมณ์แปรปรวนรุนแรงสลับไปมาระหว่างความคิดฟุ้งซ่านขาดสติ (Mania) และภาวะซึมเศร้า (Depression)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซึมเศร้า

การที่คุณเคยเป็นโรคซึมเศร้านั้นเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคนี้ต่อไปในอนาคต มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่เคยหายจากการเป็นโรคซึมเศร้าในครั้งแรก ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ต่อไปได้อีก นอกจากนี้ 80% ของผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคซึมเศร้า 2 ครั้ง ยังสามารถเป็นต่อไปได้ อ้างอิงจากรายงานเมื่อปี 2007 ใน Clinical Psychology Review มีคนที่ฆ่าตัวตายมากถึงสองในสามมีอาการของโรคซึมเศร้า

จากแหล่งข้อมูลทางสุขภาพ A.D.A.M โรคซึมเศร้ายังสามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณและการทำงาน และโรคซึมเศร้ายังสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ภาวะอ้วน หัวใจวาย หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพจิตที่แย่ลงอย่างมากในผู้สูงอายุ

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้า

เมื่อสังเกตแล้วว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวกำลังตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าทั่วไป หรือแม้กระทั่งหลังผลการวินิจฉัยของแพทย์แล้วก็ตามว่าเป็นโรคซึมเศร้า คุณสามารถดูแลตัวเองหรือผู้ป่วยควบคู่ไปกับการบำบัดได้ดังนี้

- หางานอดิเรกทำ เช่น ทำอาหารหรือต่อจิกซอว์ ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกสนุกนัก แต่กิจกรรมยามว่างเหล่านี้จะ ช่วยสร้างสมาธิและทำให้สามารถจดจ่อได้มากขึ้น

- ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและไม่มีความสามารถ การตั้งเป้าหมายเล็กๆ จะสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย

- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้สารเอ็นโดรฟิน (endorphin) หลั่งออกมา ซึ่งทำให้รู้สึกมีความสุข อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นสมองให้มีความตื่นตัวมากขึ้นในระยะยาว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ แค่เดินออกกำลังสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอ

- ทานอาหารที่มีประโยชน์ แม้จะรู้สึกเบื่ออาหาร ผู้ป่วยควรพยายามรับประทานอาหารที่สด สะอาด และทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ร่างกายจึงจะรู้สึกสดชื่นและมีพลังงาน

- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ แม้การนอนจะเป็นเรื่องที่ควบคุมยากมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ (6-8 ชั่วโมง) จะช่วยให้ลืมความกังวลไปได้ชั่วขณะ และเมื่อตื่นขึ้นมาร่างกายและสมองก็จะมีความ

พร้อมสำหรับกิจกรรมของแต่ละวันมากขึ้น

การประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง

ผู้ป่วยส่วนมากไม่แน่ใจในอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง และผู้ป่วยมักเข้าใจผิดคิดว่าอาการเหล่านั้นจะสามารถหายไปเองได้ ดังนั้นการทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเองจะช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้เร็ว ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ ซึมเศร้ารุนแรงชนิดที่มีอาการทางจิตร่วมลงได้ ช่วยลดภาระในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา และสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้สามารถกลับมาเป็นปกติสุขได้โดยเร็ว

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หอมไทหวังว่าทุกๆ ท่านคงจะเข้าใจผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นนะคะ และหากท่านที่อ่านแล้ววิเคราะห์ว่าตัวเองอาจจะเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า ก็อย่าอายที่จะต้องไปพบจิตแพทย์เลยนะคะ ยิ่งรู้ตัวเร็วยิ่งแก้ไขได้เร็วค่ะ

กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้ามันแย่จะแก้ไม่ทันนะคะ หอมไทก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกๆ ท่านด้วย

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square